วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วิตามิน B-12 กับโรคซึมเศร้า



วิตามิน B-12 และ วิตามิน B อื่นๆเช่น โฟเลต ต่างมีความสำคัญในกระบวนการสร้าง neurotransmitters ที่ช่วยร่างกายของเราควบคุมอารมณ์


แพทย์ทั่วไปทราบมานานแล้วว่าการขาดวิตามิน B-12 มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า การวิจัยในอาสาสมัคร 3,884 คน ที่ได้ตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry ในปี 2002 ชี้ว่า คนที่ขาดวิตามิน B 12 มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนที่มีปริมานของวิตามิน B 12 ในร่างกายอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสถาบันวิจัยใดๆที่สามารถชี้ชัดได้ว่า การขาดวิตามิน B-12 เป็นสาเหตุ หรือ เป็นผลข้างเคียงของโรคซึมเศร้า เนื่องจากว่า การขาดวิตามิน B-12 อาจเกิดขึ้นเพราะผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและ เบื่ออาหารจนรับสารอาหารได้ไม่เพียงพอก็ได้


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ คุณควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาและ อย่าลืมพูดคุยกับจิตแพทย์เกี่ยวกับอุปนิสัยการรับประทานอาหารของคุณ เพื่อให้จิตแพทย์ได้มีข้อมูลอย่างครบถ้วนในการวินิจฉัยสาเหตุของโรคซึมเศร้าของคุณ บางครั้ง การปรับอุปนิสัยการรับประทานอาหารในครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน อาจจะช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้ โดยที่ยังไม่ต้องรับประทานยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants) อย่างไรก็ตาม การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของจิตแพทย์นะคะ


Reference: Mayo Clinic

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สปาหูดีสำหรับคุณจริงหรือ?

สปาหู (Ear Candling) คือ การใช้เทียนเสียบเข้าไปในรูหูแล้วจุดไฟเพื่อให้เกิดสูญญากาสและ สูบขี้หูออกมา สปาหูเป็นเทรนด์สุขภาพที่หลายๆสปาในประเทศไทยเริ่มโปรโมทในช่วงนี้ บ้างก็ชูว่าการทำสปาหูสามารถลดไมเกรน แก้ไขความไม่สมดุลของน้ำในหู ฯลฯ แต่ก่อนที่คุณจะรีบไปทดลองทรีตเมนท์อันใหม่นี้ เรามีความคิดเห็นของ พ.ญ. Jennifer Mullen จาก Massachusetts Eye and Ear Infirmary ที่ Boston มาให้อ่านค่ะ

พ.ญ. Mullen ได้กล่าวว่า ขี้หูเป็นสิ่งที่ช่วยกันน้ำให้รูหู และยังสามารถช่วยป้องกัยการติดเชื้อในหูด้วยเพราะขี้หูมีความเป็นกรด คนทั่วไปจึงไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดขี้หูออกไป อย่างไรก็ตาม มีบางคนที่มีขี้หูในปริมานที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้คนเหล่านั้นมีอาการคันในหู หรือ การได้ยินไม่ค่อยชัด

แต่การทำสปาหูก็ไม่ใช่คำตอบสำหรับคนที่มีปริมานขี้หูเยอะกว่าปกติ เพราะการทำสปาหูอาจทำให้คุณหูหนวกได้ด้วยซ้ำ พ.ญ. Mullen ชี้ว่า เธอได้รักษาผู้ป่วยหลายรายที่มีปัญหาหลังจากการทำสปาหู เช่น รูหู หรือ แก้วหูไหม้

วิธีที่ปลอดภัยกว่าคือการไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านตา หู คอ จมูก ซึ่งแพทย์อาจจะจ่ายยาหยอดสำหรับหู หรือใช้เครื่องมือแพทย์ที่ปลอดภัยกำจัดขี้หูที่มากเกินไป

สุดท้ายนี้ พ.ญ. Mullen ได้เตือนว่า ไม่ควรนำคอตตอน บัด หรือ ก้านสำลีเสียบเข้าไปในรูหูเพื่อแคะขี้หู เพราะอาจทำให้แก้วหูแตกได้ค่ะ

Reference: Web MD

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สิ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม



จากการวิจัยของ National Breast Cancer Coalition ที่อเมริกา ผู้หญิง 3 ใน 4 คนคิดว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมค่อนข้างมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้หญิงหลายคนยังมีความรู้ที่ผิดๆเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม GNC จึงนำข้อมูลมาชี้แจงให้คุณผู้หญิง ณ ที่นี้ค่ะ


1. 56% ของผู้หญิงเชื่อว่า การมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม หมายความว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม


แต่ในความป็นจริงแล้ว น้อยกว่า 10% ของคนที่เป็นมะเร็งเต้านมมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ อายุของคุณต่างหากค่ะ ที่เป็นความเสี่ยงที่สูงที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม


2. 38% ของผู้หญิงเชื่อว่า การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีพตรวจพบบมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด


แต่ในความเป็นจริงแล้ว การตรวจด้วยเครื่อง mammogram ที่โรงพยาบาล เป็นวิธีเดียวที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้จริงค่ะ


3. 70% ของผู้หญิงเชื่อว่าการรับประทานผัก ผลไม้และ ธัญพืชเป็นประจำ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม


ทว่าแท้ที่จริงแล้ว การวิจัยกว่า 8 ปี ในผู้หญิง 48,000 รายพบว่าการรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืชเป็นประจำไม่มีผลในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แต่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งประเภทอื่น


สิ่งที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้จริง คือ การออกกำลังกายเป็นประจำและ การมีน้ำหนักตัวที่พอดีค่ะ


Reference: Prevention Magazine, March 2008

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ทานยาลดกรดในกระเพาะบ่อยๆอันตรายหรือไม่?



นายแพทย์ Jay W. Marks จาก MedicineNet ได้ชี้แจงว่า การทานยาลดกรดในกระเพาะมักจะมีผลข้างเคียงเช่น ท้องผูก (จากยาลดกรดชนิดที่มีอลูมินัม) หรือ ท้องร่วง (จากยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม)

การรับประทานยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียม คาร์โบเนต มากเกินไป อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลย์ของระดับแคลเซียมและ กรดในร่างกาย ซึ่งจะทำให้มีผลเสียต่อไต นอกจากนั้น ยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมอาจทำให้ร่างกายหลั่งกรดออกมามากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีผลในการลดกรดในช่วงแรกหลังการรับประทานยา

ในผู้ป่วยที่มีโรคไต สารอลูมินัมจากยาลดกรดที่มีอลูมินัมอาจสะสมในร่างกายด้วย ซึ่งอาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหารในบางครั้ง บางคราว หรือแม้กระทั่งการรับประทานทุกวัน ยังถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยอยู่ค่ะ